home about us service property for sale news firm achievement contact
 
หลัการที่ 11 บทบาทของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้
   (1) คณะกรรมการฯ มีหน้าที่ติดตามพัฒนาการของการปรับโครงสร้างหนี้
   (2) คณะกรรมการฯ จะทำการทบทวน หรือกำหนดนโยบาย เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้
   (3) คณะกรรมการฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เป็นอิสระ เพื่อช่วยผลักดันให้การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
   ที่มีอุปสรรค หรือติดปัญหาใด ๆ ในการเจรจา ให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เป็นการ
   ปรับโครงสร้างหนี้ที่มีความยุ่งยาก หรือมีท่าทีว่าจะเกิดความล้มเหลวในการดำเนินการ

หลักการที่ 12 ให้สิทธิเหนือหลักประกันของเจ้าหนี้ในปัจจุบันคงมีอยู่ต่อไป
เจ้าหนี้ผู้มีหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการของลูกหนี้ไม่ควรถูกบังคับให้สละหลัก
ประกัน โดยไม่มีสิ่งตอบแทนที่พอเพียงอย่างไรก็ตามเจ้าหนี้ผู้มีหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ไม่มีความสำคัญ
ต่อการดำเนินกิจการ ของลูกหนี้อาจทำการเจรจาต่อรองกับลูกหนี้ื้เพื่อบังคับเอากับทรัพย์สินดังกล่าวโดยสมัครใจได้ โดย
การตกลงกันงินส่วนเกินที่ลูกหนี้ด้จากการขายรัพย์สินของลูกหนี้รือเงินส่วนที่เกินกว่าหนี้ที่ฟ้องเรียกชำระที่เจ้าหนี้มีประกัน
ได้จากการขายทรัพย์สิน ของลูกหนี้ควรจะนำฝากไว้ในบัญชีผู้แทน (Escrow account)และต้องนำมาแบ่งชำระให้แก
่เจ้าหนี้ทุกรายตามสัดส่วนของหนี้ที่ให้แก่ลูกหนี้

หลักการที่ 13 เจ้าหนี้ที่ให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากยอดคงค้าง ณ วันที่หยุด
กระทำการและโดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงที่เป็นธรรมเพื่อช่วยให้ลูกหนี้ดำเนินกิจการต่อไปได้ควรได้รับสิทธิ
ชำระหนี้ในลำดับก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับบุริมสิทธิ์เหนือหลักประกัน และข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้ด้วย

หลักการที่ 14 ผู้ให้กู้ควรดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการให้กู้ลง ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่
ต้องการ โดยควรให้ความสำคัญแก่หลักประกัน และผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่ลูกหนี้มีความสามารถ
ในการทำกำไรดีขึ้นมากกว่ามุ่งที่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยและเรียกค่าธรรมเนียมในการปรับโครงสร้างหนี้ใน
อัตราที่สูง

หลักการที่ 15 ในบางสถานการณ์เจ้าหนี้บางรายอาจขายหนี้ของตัวเองให้บุคคลอื่นได้ แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้ดังกล่าว ควรถือเป็นความรับผิดชอบด้านวิชาชีพที่จะดูแลมิให้เจ้าหนี้รายใหม่ที่ซื้อหนี้ไปกระทำการใด ๆ ที่มีผล
กระทบต่อการปรับโครงสร้างหนี้
 

หลักการที่ 16 ความเสียหายที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้ควรจะเฉลี่ยในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างยุติธรรม
โดยคำนึงถึงลำดับการได้รับชำระหนี้ก่อนหลังตามกฎหมาย

ในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ และเจ้าหนี้ของลูกหนี้ต้องตระเตรียมที่จะให้ ความร่วมมือ
ซึ่งกันและกัน ในการผ่อนปรนหนี้  ลูกหนี้ควรรองรับความเสียหาย โดยการตัดจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ไม่สำคัญทิ้งไป
เลิกหรือเลื่อนการขยายการลงทุนที่ไม่จำเป็น รวมทั้งต้องงดจ่ายเงินโบนัสตอบแทน และสินทรัพย์ หรือการจ่ายเงินที่
ไม่จำเป็นอื่นๆ ควรให้ผู้ถือหุ้นเป็นผู้แบกรับความเสียหายในลำดับต่อไป โดยการงดจ่ายเงินปันผล งดการชำระเงิน
ระหว่างบริษัทในเครือ และการจ่ายเงินอื่นๆ

หลักการที่ 17 เจ้าหนี้แต่ละรายยังคงสามารถบังคับใช้สิทธิของตนได้โดยอิสระบนพื้นฐานของผลประโยชน์ได้เสียของตน แต่เจ้าหนี้ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของการบังคับใช้สิทธิที่จะมีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
ต่อเจ้าหนี้รายอื่นและลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการปรับโครงสร้างหนี้

เจ้าหนี้อาจยังคงมีสิทธิดำเนินการบังคับสิทธิของตนได้โดยอิสระ อย่างไรก็ตามเจ้าหนี้แต่ละรายจะต้องไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่เปิดเผยเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้หรือได้หลักประกันเพิ่มในระหว่างที่มีการปรับโครงสร้างหนี้   หลักการปรับโครงสร้างหนี้มีไว้
เพื่อช่วยให้การดำเนินธุรกิจดีขึ้น และปรับโครงสร้างทางการเงิน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย ดังนั้นผู้มีส่วนเข้าร่วม
จะต้องไม่พยายามดำเนินการให้ตนเองหรือกลุ่มของตนได้ประโยชน์สูงสุดบนความเสี่ยงต่อความเสียหายในผลประโยชน์แก่ผู้อื่น
หรือแก่การดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยรวม เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียต้องพิจารณาถึงผลกระทบจากการดำเนินการโดยอิสระ
ของตนที่จะมีต่อระบบเศรษฐกิจไทย เจ้าหนี้รายอื่นและตัวลูกหน
ี้

หลักการที่ 18 การยกเว้นหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักการ หรือยกเลิกหลักการข้อหนึ่งข้อใดข้างต้น
ในการปรับโครงสร้างหนี้รายใดอาจกระทำได้ โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ทั้งหมดที่เข้าร่วมในการ
ปรับโครงสร้างหนี้

1 | 2 | 3
 
 

Home
| About us | Service | Property for sale | News | Firm Achievement | Contact us

Silom Asvisory Services Co.,Ltd. Copyright © 2011