หลักการที่ 6 บริษัทที่เป็นแกนนำในการปรับโครงสร้างหนี้ และบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันดังกล่าว ต้องได้รับการแต่งตั้งในระยะเริ่มแรกของการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อจัดการและประสานงานเรื่องต่าง ๆ ทั้งหมดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้
สถาบันที่เป็นแกนนำในการปรับโครงสร้างหนี้ ควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (โดยเรียงลำดับจากความสำคัญมาก
ไปยังความสำคัญน้อยกว่า) คือ
(1) มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความรู้ความชำนาญเพียงพอที่จะสามารถจัดการขั้นตอนต่างๆ
ทั้งหมดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักตามกำหนดเวลาต่าง ๆ โดยครบถ้วน
(2) มีความสัมพันธ์ในด้านวิชาชีพกับฝ่ายบริหารระดับสูงของลูกหนี้เป็นอย่างดี
(3) เป็นเจ้าหนี้รายที่มีนัยสำคัญของลูกหนี้
|
หลักการที่ 7 ในกรณีการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายรายวรจะมีการตั้งคณะกรรมการเจ้าหนี้โดย
มีตัวแทนจากกลุ่มเจ้าหนี้ที่มีผลประโยชน์หลากหลายต่างกัน
คณะกรรมการเจ้าหนี้ควรจะมีขนาดที่เหมาะสม โดยมีตัวแทนที่เลือกจากกลุ่มเจ้าหนี้ทุกกลุ่มโดยไม่คำนึงว่าเจ้าหนี้รายนั้น ๆ เป็นเจ้าหนี้ประเภทใดหรือมีจำนวนหนี้มากน้อยเพียงใด เจ้าหนี้ทุกรายต้องรู้สึกว่าส่วนได้เสียของตนได้รับความคุ้มครองและเอาใจใส่และตนมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการปรับโครงสร้างหนี้ และกรรมการของคณะกรรมการเจ้าหนี้ไม่ควรจะมีอำนาจในการก่อความผูกพันในนามของเจ้าหนี้อื่นใด หรือในนามของสถาบันที่เป็นแกนนำในการปรับโครงสร้างหนี้ |
หลักการที่ 8 การตัดสินใจในการปรับโครงสร้างหนี้ควรกระทำโดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับลูกหนี้ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์
์และ
ได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว เพื่อให้การปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปอย่างโปร่งใส
ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้งข้อมูลทั้งหมดที่ต้องมีตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย)ให้ครบถ้วน
และสมบูรณ์ที่สุดการเก็บรวบรวมข้อมูลควรจะกระทำอย่างรวดเร็วและต้องมีการตรวจสอบยืนยันข้อมูลนั้นอย่างเป็นอิสระเพื่อ
ใช้สำหรับการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและศักยภาพในอนาคตของธุรกิจลูกหนี้เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการปรับ
โครงสร้างหนี้ข้อมูลที่รวบรวมได้จะต้องนำมาใช้ร่วมกันระหว่าง
ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกราย
|
หลักการที่ 9 ในกรณีที่มีการแต่งตั้งนักบัญชี ทนายความ และที่ปรึกษา บุคคลดังกล่าวควรมีความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับ
ประเทศไทย ความชำนาญพิเศษ และทรัพยากรต่างๆ เพียงพอที่จะทุ่มเทให้กับงานได้
เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะมีที่ปรึกษาของตนต่างหาก (นอกเหนือจากที่ปรึกษาที่ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหนี้ทั้งหมด)
ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเองและไม่ควรขอให้ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อื่นๆร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น |
หลักการที่ 10 แม้จะเป็นประเพณีปฏิบัติตามปกติที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาด้านวิชาชีพ
รวมทั้งค่าใช้จ่ายของสถาบันที่เป็นแกนนำ และคณะกรรมการเจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้ซึ่งผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรง
จากการปรับโครงสร้างหนี้ ก็มีความรับผิดชอบทางวิชาชีพที่จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแต่งตั้งนักบัญชีอิสระหรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆลูกหนี้ไม่สามารถหน่วงเหนี่ยวการแต่งตั้ง
นักบัญชีอิสระหรือผู้เชี่ยวชาญโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้ในกรณีที่การปรับโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
ค่าธรรมเนียมวิชาชีพและค่าใช้จ่ายของสถาบันที่เป็นแกนนำและกรรมการของคณะกรรมการเจ้าหนี้ควรมีสิทธิได้เบิก
ค่าใช้จ่ายที่ตนได้จ่ายไปตามสัดส่วนของมูลหนี้โดยถือว่าเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับก่อนเจ้าหนี้อื่น |
|