1. บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1. เลิกโดยผลของกฎหมาย
• กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
• ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
• ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
• บริษัทล้มละลาย
• นายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียน (ถอนทะเบียนร้าง)
2.
โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
• ผู้ถือหุ้นลงมติเพิเศษให้เลิกบริษัท
การเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัดในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท โดยดำเนินการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท
3.
เลิกโดยคำสั่งศาล
• ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
• บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปี นับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทำการถึง 1 ปี
• การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังกลับฟื้นคืน
• จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 7 คน
เมื่อบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเลิกกัน บริษัทจะยังคงตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี และการเลิกบริษัทกรณีอื่นนอกจากล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระสะสางบัญชีของบริษัทจำกัดให้เสร็จสิ้นไป
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีของบริษัท หากข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการทุกคนของบริษัทต้องเป็นผู้ชำระบัญชี และอำนาจกรรมการเดิมมีไว้อย่างใดเมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีแล้วอำนาจผู้ชำระบัญชีก็เป็นไปตามอำนาจเดิม ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัท
ในกรณีที่บริษัทไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องการตั้งผู้ชำระบัญชีไว้ หากบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการบางคน หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่มีผู้ถือหุ้นทุกคนเข้าประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์
2. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอและยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัท
3. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 2 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
4. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)
ขั้นตอน 2-4 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
|